เทรนกันแบบไหน? ไม่เสียประตูจาก “การโหม่ง”

13

[Sponsor Content] เทรนกันแบบไหน? “ช้างศึก” ชุดใหญ่-เล็ก ไม่เสียประตูจาก “การโหม่ง”
#ChangsuekFITandFIRM

ช่วงต้นเดือนมิถุนายน “ช้างศึก” ชุดใหญ่ คิวจะต้องลงแข่งใน “เอเชียนคัพ รอบคัดเลือก” และชุด U23 ต้องออกแรงในศึก “U23 ชิงแชมป์เอเชีย” หนึ่งในการฝึกฝนร่างกายที่สำคัญคือ เรื่องของรับมือ “ลูกกลางอากาศ” อาวุธสุดอันตรายของทีมคู่แข่งที่มีรูปร่าง สูงใหญ่ กำยำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทีมชาติไทย จึงถูกโจมตีจากการเข้าทำแบบนี้มาตลอด

หลังจากการแข่งขันทั้ง 2 รายการจบไป“ช้างศึก” ทั้ง 2 ชุดกลับไม่เสียประตูจาก “การโหม่ง” แม้แต่ลูกเดียว ต้องชื่นชมเหล่าทีมงานผู้ฝึกสอนที่เตรียมแผนการฝึกซ้อมอย่างระเอียด ในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 1 สัปดาห์ ซึ่งไม่เรื่องง่ายเพราะนักเตะโดยเฉพาะแนวรับต้องฝึกฝนและรักษาวินัยกันอย่างเคร่งครัด เพื่อการประเมินผลความเข้าใจของพวกเขา หาจุดบกพร่อง ดูพัฒนาการจากการฝึกแต่ละวัน ตามแนวทางดังต่อไปนี้

#การทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก

เรื่อง “การกิน” ก็เป็นส่วนสำคัญหากมีไขมันที่หน้าท้อง อก แขน และต้นขามากเกินไปก็มีผลต่อการกระโดด โดย ไม่ควรรับประทานอาหารเกิน 1500 กิโลแคลอรี เพราะจะทำให้นักเตะมีน้ำหนักมากเกินความจำเป็น โดยมื้อเช้าควรรับประทานอาหารอยู่ที่ประมาณ 600 กิโลแคลอรี มื้อกลางวันควรรับประทานอาหารอยู่ที่ประมาณ 525 กิโลแคลอรี มื้อเย็นก็สำคัญมากเพราะมีการใช้พลังงานน้อยที่สุดให้ประมาณ 375 กิโลแคลอรีก็เพียงพอ สรุปคือไม่ควรทานเกิน 1,500 แคลอรี

#พัฒนาความแข็งแกร่งในระยะเวลาอันสั้น

นักฟุตบอลหลายคนมีความแข็งแกร่ง แข็งแรง โดยธรรมชาติ แต่ยังไม่พอ เพราะต้องเข้าฟิตเนสทุกเช้าทุกวัน โดยเน้นเวทช่วงขา วิธีการคือ การกระโดดขึ้นลงโดยการแบกลูกเหล็กถ่วงน้ำหนักที่ขา ต่อด้วยการทำสควอดขาพร้อมกันทั้งสองข้างต่อด้วยการด้วยขาข้างเดียว และฝึกกระโดดข้างสิ่งกีดขวางจนกล้ามเนื้อขาได้ทรง เพื่อช่วยในการสปริงตัวเมื่อต้องเล่นลูกกลางอากาศบ่อย และกล้ามเนื้อช่วงบนก็มีความสำคัญต่อการเบียดปะทะขณะที่กำลังลอยตัว ด้วยการเล่นเวทด้วยการถือน้ำหนักไว้ในมือทั้งสองข้าง และก้าวขาข้างใดข้างหนึ่งไปไว้บน ต่อด้วยเกร็งหน้าท้อง งอขาแต่ละข้างลงมาทำมุม 90 อาศากับพื้น

#ซ้อมกะจังหวะโหม่งให้คุ้นชิน

ในช่วงเวลาของการฝึกซ้อม นักเตะจะต้องมีคำนวณและจับจังหวะไทม์มิ่งในการขึ้นโหม่ง เพราะต้องหาจังหวะการลอยตัวกลางอากาศที่ดีกว่า คู่แข่งที่ขึ้นโหม่งบอลพร้อมกัน โดยการให้เพื่อนร่วมทีมที่รับผิดชอบลูกตั้งเตะครอสบอลเข้ามาในกรอบเขตโทษ โดยที่มีคนประกบ และไม่มีคนประกบสลับกันไป ถ้าคุ้นเคยแล้ว นักเตะคนนั้นจะมีการตัดสินใจที่ดีว่าลูกไหนควรที่จะเล่นเองหรือปล่อยให้เพื่อนที่เป็นผู้รักษาประตูรับหรือชกบอลออกจากกรอบเขต ส่วนการที่จะเอาชนะนักเตะรูปร่างสูงใหญ่ ต้องแข็งแกร่ง ดุดันมากกว่าพวกเขา และสิ่งที่จะทำให้ได้เปรียบพวกเขาอีกอย่างก็คือ “ตำแหน่งการยืนที่ดี”

#แผนของโค้ช

ทีมงานจะต้องทำสถิติมาเป็นอย่างดีว่า คู่แข่งที่เราจะต้องเจอนั้นมีนักเตะที่เล่นลูกกลางอากาศได้ดีกี่คน ถ้ามีเพียง 1 คน การมีเซ็นเตอร์แบ็กที่สูงใหญ่พอๆ กันก็เพียงพอกับการเล่นลูกโหม่ง แต่ถ้ามี 3-4 คนก็หนักหน่อยถ้าเรามีผู้เล่นตัวใหญ่น้อยกว่า ควรเลือกตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ไม่ให้ตัวริมเส้นหรือแบ็กฝ่ายตรงข้ามได้เปิดบอลง่ายๆ หลีกเลี่ยงการเสียลูกตั้งเตะไม่ว่าจะเป็นฟรีคิก หรือ เตะมุมที่ใกล้กรอบเขตโทษของเรา แต่ถ้าต้องเสียลูกนิ่งจริงๆ ผู้เล่นที่มีความแข็งแกร่งพอจะเข้าปะทะได้ควรจะประกบให้ชิดตัวหรือขัดจัวหวะพวกเขา เพื่อให้ ผู้รักษาประตูของทีมเราออกมาถึงบอลได้ก่อน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการแข่งขันบางเกมจะไม่ได้ออกมาจากที่เราหวัง แต่การพัฒนาเรื่องการป้องกัน “ลูกกลางอากาศ” ก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกับทั้ง ชุดใหญ่-ชุด U23 อย่าลืม! ช่วยเชียร์พร้อมกับให้กำลังใจทัพ “ช้างศึก” ทีมชาติไทยทุกชุดกันต่อไป

#ประกันอุบัติเหตุ #PASimple
#เมืองไทยประกันภัย
#เชื่อแป้ง #เชื่อเมืองไทยประกันภัย
#ช้างศึก #Thailand #บอลไทย #ฟุตบอลไทย #FAThailand

แบ่งปัน