หัวใจสำคัญของการเป็นนักฟุตบอล

4

การป้องกัน และดูแลข้อเท้า หัวใจสำคัญของการเป็นนักฟุตบอล
#ChangsuekFitandFirm by เมืองไทยประกันภัย

ในวงการฟุตบอลสิ่งสำคัญที่นักกีฬาทุกคนต้องทำก่อนเริ่มการฝึกซ้อม หรือก่อนเริ่มทำการแข่งขันก็คงจะหนีไม่พ้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching Exercise) เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลา แต่สิ่งที่สำคัญของนักกีฬาฟุตบอล คือ ข้อเท้า หัวใจสำคัญในการเล่นกีฬาฟุตบอลที่จะต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี และป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นบริเวณข้อเท้า

ข้อเท้า เป็นอวัยวะที่สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นในร่างกาย เพราะช่วยในพยุงตัวในการเดินหรือการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นอวัยวะที่ถูกใช้งานบ่อยที่สุด ในระหว่างที่ใช้เท้าในการเดิน ข้อเท้าจะต้องรับน้ำหนักตัวในการเคลื่อนไหวต่างๆ อีกด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่า โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุต่างๆบริเวณข้อเท้าก็สูงตามไปด้วย โดยเฉพาะกับการเล่นฟุตบอล

การเกิดข้อเท้าพลิก (Ankle Sprain) จากการเล่นฟุตบอล อาจจะเกิดจากการปะทะกันของผู้เล่นทั้งสองทีมที่รุนแรง ส่วนใหญ่มักเกิดการพลิกเข้าด้านในทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นทางด้านนอกของข้อเท้าได้ หากอาการบาดเจ็บไม่รุนแรง จะเกิดอาการบวมลงน้ำหนักในการเดินได้ไม่เต็มที่ แต่ในกรณีเอ็นฉีกขาดบางส่วน จะมีอาการบวมมีเลือดคั่งอยู่ภายใน หากอาการรุนแรงหรือเอ็นมีการฉีกขาดทั้งหมดจนถึงไม่สามารถลงน้ำหนักได้เต็มที่ต้องรีบรักษาด้วยการพบแพทย์ โดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง (Chronic Ankle Instability)

#การรักษาเมื่อบาดเจ็บจากกีฬาฟุตบอล

บริเวณข้อเท้าหลังจากการเกิดอาหารบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาฟุตบอล ต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนที่จะไปพบแพทย์ในลำดับถัดไป โดยใช้หลักการปฐมพยาบาล R.I.C.E.

R – Rest พักการเล่นและการเคลื่อนไหว เพื่อให้ร่างการได้ฟื้นฟู ซ่อมแซมอาการบาดเจ็บ

I – Ice การประคบเย็น โดยใช้ถุงน้ำแข็ง หรือผ้าชุบน้ำ ประคบบริเวณข้อเท้าที่เกิดอาการบวมหรือฟกซ้ำครั้งละ 15-20 นาที (วันละ 3-4 ครั้ง) เพื่อบรรเทาอาการปวดชั่วคราว

C – Compression การใช้ผ้าพันยืดบริเวณข้อเท้าที่เกิดอาการบาดเจ็บเพื่อลดอาการบวมและลดการเคลื่อนไหว สิ่งสำคัญต้องใช้วัสดุ และวิธีการที่เหมาะสม เพราะถ้าหากทำไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้เกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้น

E – Elevation ทำการยกข้อเท้าขึ้นให้สูงกว่าระดับหัวใจขณะนอนเพื่อบรรเทาอาการบวมของข้อเท้า

#การบริหารข้อเท้า

ท่าที่ 1 ยืนหันหน้าเข้าหากำแพงใช้มือทั้งสองข้างดันกำแพงที่ตั้งฉาก 90 องศา แล้วก้าวขาข้างหนึ่งไปด้านหลังโดยให้ปลายเท้าชี้มาด้านหน้า ย่อเข่าหน้าจนรู้สึกตึงขาหลังที่บริเวณข้อเท้าขาที่ก้าวไปด้านหลัง ทำค้างไว้ 15-30 วินาที ทำสลับกันทั้งสองข้าง ข้างละ 5 – 10 ครั้ง จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อเท้า

ท่าที่ 2 นั่งราบกับพื้นเหยียดขาไปด้านหน้า ใช้ผ้าขนหนูดึงเท้าเข้าหาตัวในท่าเข่าเหยียด ทำค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำ 5 – 10 ครั้ง จะช่วยฝึกความยืดหยุ่นของข้อเท้า

ท่าที่ 3 ใช้อุปกรณ์ยางยืดสำหรับออกกำลังกาย (Resistance Band) สอดเท้าไปด้านในยางออกแรงต้านดันข้อเท้า พร้อมกระดกข้อเท้าขึ้นลง และบิดข้อเท้าซ้าย ขวาตามลำดับ 5 – 10 วินาที ทำซ้ำ 10 – 15 ครั้ง

#การคูลดาวน์ (Cool down)

หลังจากการเล่นกีฬา ควรจะลดการเคลื่อนไหวของร่างกายลงให้ร่างกายลดอุณหภูมิลงมาอยู่ในระดับปกติ อีกทั้งการคูลดาวน์จะช่วยลดการสร้างกรดแลคติก (Lactic Acid) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดตะคริว กล้ามเนื้อแข็งตัว และลดระดับความดันโลหิตลดลงมาสู่ระดับปกติก่อนจะกลับสู่การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันต่อไป

จะเห็นได้ว่าการป้องกัน และดูแลข้อเท้าเป็นสิ่งสำคัญของนักกีฬาฟุตบอล ทั้งก่อนที่จะทำการแข่งขัน หรือก่อนทำการฝึกซ้อม เพื่อให้การเล่นเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพตลอด 90 นาทีที่ลงเล่นในสนาม

นอกจากนี้แล้วการเตรียมพร้อมรับมือกับอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ให้ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Your Happy ช่วยดูแลให้คุณยิ้มได้กับทุกสถานการณ์ ให้ความคุ้มครองครบทุกวัย ทุกที่ ทุกเวลา ทั่วโลก สูงสุด 2,000,000 บาท มั่นใจ บาดเจ็บไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อรักษาตัวในโรงพยาบาลคู่สัญญา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2DAmOQM หรือติดต่อ Call center 1484 และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนทำประกันภัยทุกครั้ง

#ประกันภัยอุบัติเหตุ #PAYourHappy #เมืองไทยประกันภัย #เชื่อแป้ง #เชื่อเมืองไทยประกันภัย #ช้างศึก #Thailand #บอลไทย #ฟุตบอลไทย #FAThailand

แบ่งปัน