WE League ญี่ปุ่นถึงไทยวีเมนส์ลีก

21

ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2022 : จาก WE League ญี่ปุ่น ถึงไทย วีเมนส์ ลีก – ลีกฟุตบอลหญิงในเอเชียแข่งขันอย่างไร?

โกล ประเทศไทย ขอพาไปเรียนรู้ระบบลีกฟุตบอลหญิงของทุกชาติในเอเอฟซี วีเมนส์ เอเชียน คัพ 2022 แบบคร่าว ๆ ว่าแข่งขันรูปแบบไหนบ้าง

ศึกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย “เอเอฟซี วีเมนส์ เอเชียน คัพ” ครั้งที่ 20 จะมี 12 ทีมจากทวีปนี้เข้าร่วมแข่งขัน โดยอินเดียรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในปี 2022 ซึ่งได้มีการขยายทีมจากเดิมในครั้งก่อน 8 ทีม ด้วยการเพิ่มในครั้งนี้มาเป็น 12 ทีม เพื่อให้การแข่งขันมีการเข้มข้นมากขึ้น

การแข่งขันชิงแชมป์เอเชียจะทำหน้าที่เป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อคัดเลือกตัวแทนจากโซนเอเชียไปเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงในปี 2023 ซึ่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะเป็นเจ้าภาพร่วมกัน โดยจะคัดเอา 5 ทีมผ่านเข้ารอบสุดท้ายแบบอัตโนมัติ และคัดอีก 2 ทีมไปเล่นในรอบเพลย์ออฟกับทีมจากทวีปอื่นต่อไป

นอกจากเจ้าภาพอินเดียแล้ว อีก 11 ทีมที่ได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายมาแข่งขันในครั้งนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, จีน, ไต้หวัน, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, เมียนมา, เกาหลีใต้, อิหร่าน ฟิลิปปินส์ และ ไทย

การแข่งขันจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ในสามเมืองของอินเดีย ได้แก่ มุมไบ, นาวีมุมไบ และปูเณ

โกล ประเทศไทย ขอพาไปเรียนรู้ระบบลีกฟุตบอลหญิงของทุกชาติในเอเอฟซี วีเมนส์ เอเชียน คัพ 2022 แบบคร่าว ๆ ว่าแต่ละลีกมีส่วนใช้พัฒนานักฟุตบอลหญิงในเอเชียอย่างไรกันบ้าง

อิหร่าน

Kowsar Women Football League เป็นลีกฟุตบอลหญิงของอิหร่าน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 โดยทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ Khatoon FC ซึ่งคว้าแชมป์ไปครองได้ถึง 7 สมัย

ขณะที่ในฤดูกาลล่าสุด 2020-2021 มีทั้งหมด 11 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน โดยรูปแบบการแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ 1 จะมี 5 ทีม และกลุ่มที่ 2 จะมี 6 ทีม แข่งขันในแต่ละกลุ่มแบบพบกันหมดทีมละสองครั้ง (กลุ่มที่ 1 แข่งขันทีมละ 8 นัด, กลุ่มที่ 2 แข่งขันทีมละ 10 นัด) คัดเอาแชมป์กลุ่มและรองแชมป์กลุ่มของทั้ง 2 กลุ่ม ไปแข่งขันในรอบชิงแชมป์กลุ่มแบบพบกันหมดทีมละสองครั้ง (ทั้ง 4 ทีม จะแข่งขันทีมละ 6 นัด) โดยที่มีมีคะแนนมากที่สุดจะคว้าแชมป์ไปครอง ซึ่งก็คือ Shahrdari Sirjan

ส่วนฤดูกาลใหม่ 2021-22 จะแข่งขันไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ในปี 2021 ที่ผ่านมา โดยมีทีมเข้าร่วมทั้งหมดเพิ่มมาเป็น 12 ทีม

ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2022 : จาก WE League ญี่ปุ่น ถึงไทย วีเมนส์ ลีก -  ลีกฟุตบอลหญิงในเอเชียแข่งขันอย่างไร? | Goal.com

ฟิลิปปินส์

PFF Women’s League ลีกฟุตบอลหญิงของฟิลิปปินส์ เริ่มแข่งขันตั้งแต่เมื่อปี 2016 โดยทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัย De La Salle ซึ่งคว้าแชมป์ไปครองได้ถึง 3 สมัย

การแข่งขันครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อฤดูกาล 2019-2020 โดยมี 10 ทีมเข้าร่วมแข่งขันในระบบลีกแบบพบกันหมดทีมละ 2 เกม ซึ่งก็เป็น มหาวิทยาลัย De La Salle ที่คว้าแชมป์ไปครองเป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน ด้วยการเก็บไป 45 คะแนน จากการลงเล่น 18 เกม

ขณะที่นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป ลีกไม่สามารถจัดการแข่งขัน เนื่องการการระบาดของโควิด-19 ซึ่งต้องรอการอนุมัติจากรัฐบาลของฟิลิปปินส์เท่านั้น ถึงจะกลับมาแข่งขันได้อีกครั้ง

เกาหลีใต้

WK League เป็นการแข่งขันลีกฟุตบอลหญิงของเกาหลีใต้ ลีกก่อตั้งขึ้นในปี 2009 โดยมี 8 ทีมเข้าร่วม ซึ่งแต่ละทีมจะได้พบกันทั้งหมด 3 ครั้งในฤดูกาล (แข่งขันทั้งหมด 21 เกม) และทีมที่มีคะแนนสูงสุดจะคว้าแชมป์ไปครอง

Incheon Hyundai Steel Red Angels คือทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของลีก ด้วยการคว้าแชมป์ไปครองถึง 9 สมัย ซึ่งเป็นการได้แชมป์ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2013-2021 เลยด้วย

ส่วนในฤดูกาลล่าสุด 2021 ซึ่งแข่งขันระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 5 ตุลาคม ก็เป็น Incheon Hyundai Steel Red Angels คว้าแชมป์ด้วยการเก็บไป 52 คะแนน จากการลงเล่น 21 เกม

อินโดนีเซีย

Liga 1 Putri ลีกฟุตบอลหญิงของอินโดนีเซีย เริ่มแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2019 โดยมี 10 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน และเป็น Persib Putri คว้าแชมป์สมัยแรกไปครอง

รูปแบบการแข่งขัน ทั้ง 10 ทีม จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ทีม โดยทั้ง 2 กลุ่มจะแข่งขันทั้งหมด 16 นัด (แต่ละทีมได้พบกัน 4 ครั้ง) และคัดเอาแชมป์และรองแชมป์ของทั้ง 2 กลุ่ม ไปแข่งขันในรอบรองชนะเลิศแบบน็อคเอาท์ 2 นัด และหาทีมแชมป์ในรอบชิงชนะเลิศแบบน็อคเอาท์ 2 นัด

ทว่าหลังจากจัดการแข่งขันเพียงแค่ครั้งเดียว ลีกก็หยุดไปแบบไม่มีกำหนด จากปัญหาการระบาดของโควิด-19

เวียดนาม

Vietnamese Women’s Football Championship ลีกฟุตบอลหญิงของเวียดนาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1998 โดยมี 8 ทีมเข้าร่วมแข่งขันในระบบลีกแบบพบกันหมดทีมละ 2 ครั้ง ทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ Hanoi I Watabe และ Ho Chi Minh City I ซึ่งคว้าแชมป์ไปทีมละ 10 สมัยเท่ากัน

ขณะที่การแข่งขันครั้งล่าสุดในปี 2021 ทีมที่คว้าแชมป์ไปครองก็คือ Ho Chi Minh City I

ไต้หวัน

Taiwan Mulan Football League ลีกฟุตบอลหญิงของไต้หวัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2014 โดยมี 6 ทีมเข้าร่วมแข่งขันในระบบลีกแบบพบกันหมดทีมละ 3 ครั้ง (แข่งขันทั้งหมด 15 เกม) ทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ Taichung Blue Whale ซึ่งคว้าแชมป์ไป 4 สมัย

ขณะที่การแข่งขันครั้งล่าสุดในปี 2021 ทีมที่คว้าแชมป์ไปครองก็คือ Taichung Blue Whale

จีน

Chinese Women’s Super League ลีกฟุตบอลหญิงของเวียดนาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1997 โดยทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ Shanghai SRCB ซึ่งคว้าแชมป์ไปได้ถึง 11 สมัย

ทีมที่เข้าแข่งขันมีทั้งหมด 10 ทีม แข่งขันในระบบลีกแบบพบกันหมดทีมละ 1 นัด (ไม่มีเหย้าเยือน) โดยจะคัดเอาอันดับ 1-5 มาแข่งขันกันต่อในรอบแชมเปี้ยนชิพ สเตจ

ในรอบแชมเปี้ยนชิพ สเตจ จะแข่งขันแบบพบกันหมดทีมละ 1 นัด (ไม่มีเหย้าเยือน) โดยคัดเอาอันดับ 1 และ อันดับ 2 ไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศแบบน็อคเอาท์นัดเดียวจบ

ขณะที่การแข่งขันครั้งล่าสุดในปี 2021 ทีมที่คว้าแชมป์ไปครองก็คือ มหาวิทยาลัย Wuhan Jianghan

ออสเตรเลีย

A-League Women หรือก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า W-League เป็นลีกฟุตบอลหญิงของออสเตรเลีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 โดยมี เมลเบิร์น ซิตี้ เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จ ด้วยการคว้าแชมป์ไปครองได้ 4 สมัย

ขณะที่การแข่งขันครั้งสุดท้ายที่ใช้ชื่อว่า W-League เมื่อฤดูกาล 2020-21 W-League มีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 9 ทีม แข่งขันในระบบลีกทั้งหมด 12 นัด (พบกับทุกทีม 8 นัด และถูกสุ่มเจอทีมต่าง ๆ อีกครั้ง 4 นัด) โดยคัดเอาอันดับ 1-4 ไปเล่นในรอบรองชนะเลิศแบบน็อคเอาท์นัดเดียวจบ เพื่อหาทีมเข้ารอบชิงชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศก็เล่นแบบแบบน็อคเอาท์นัดเดียวจบเพื่อหาทีมแชมป์ โดยทีมที่คว้าแชมป์ไปครองก็คือ เมลเบิร์น วิคตอรี

ส่วนในฤดูกาลใหม่ 2021-2022 มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น A-League Women และมีทีมเพิ่มมาเป็น 10 ทีม แต่ยังแข่งขันในระบบเดิมต่อไป

ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2022 : จาก WE League ญี่ปุ่น ถึงไทย วีเมนส์ ลีก -  ลีกฟุตบอลหญิงในเอเชียแข่งขันอย่างไร? | Goal.com

ญี่ปุ่น

ลีกฟุตบอลหญิงของญี่ปุ่น เพิ่งจะมีการปรับรูปแบบโฉมใหม่มาลีกอาชีพแบบเต็มตัว โดยใช้ชื่อว่า Women Empowerment League หรือว่า WE League เป็นครั้งแรกในฤดูกาลปัจจุบัน 2021-2022 หลังจากก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า Nadeshiko League ซึ่งเป็นลีกกึ่งอาชีพมาตั้งแต่ปี 1989

WE League ฤดูกาล 2021-2022 มีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 11 ทีม แข่งขันในระบบลีกแบบพบกันหมดเหย้าเยือน ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2021 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2022

อินเดีย

Indian Women’s League (IWL) ลีกฟุตบอลหญิงของอินเดีย เริ่มจัดการแข่งขันมาตั้งแต่ปี 2016 โดยมีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 12 ทีม

รูปแบบการแข่งขันของฤดูกาลล่าสุด 2019-2020 ทั้ง 12 ทีม จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม ทั้งสองกลุ่มจะแข่งขันแบบพบกันหมดทีมละ 1 นัด (ไม่มีเหย้าเยือน) โดยคัดเอาแชมป์และรองแชมป์ของทั้งสองกลุ่ม ไปเล่นในรอบรองชนะเลิศแบบน็อคเอาท์นัดเดียวจบ เพื่อหาทีมเข้ารอบชิงชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศก็เล่นแบบแบบน็อคเอาท์นัดเดียวจบเพื่อหาทีมแชมป์ โดยทีมที่คว้าแชมป์ไปครองคือ Gokulam Kerala

ทว่านับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา IWL ก็ถูกพักการแข่งขันแบบไร้กำหนด จากปัญหาการระบาดของโควิด-19

ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2022 : จาก WE League ญี่ปุ่น ถึงไทย วีเมนส์ ลีก -  ลีกฟุตบอลหญิงในเอเชียแข่งขันอย่างไร? | Goal.com

ไทย

ไทย วีเมนส์ ลีก (Thai Women’s League) ลีกฟุตบอลหญิงของประเทศไทย เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ปี 2009 โดยในฤดูกาลล่าสุด 2020-2021 มีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 8 ทีม

รูปแบบการแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็นสองเลก โดยเลกแรกทั้ง 8 ทีมจะแข่งขันแบบพบกันหมดทีมละ 1 นัด (ไม่มีเหย้าเยือน) โดยจะคัดเอาอันดับ 1-4 ไปแข่งขันในเลกสองแบบพบกันหมดทีมละ 2 นัด (แต่ละทีมแข่งขัน 6 นัด) เพื่อหาทีมแชมป์ ส่วนทีมอันดับ 5-8 ก็ต้องไปแข่งขันในเลกสองรูปแบบเดียวกัน เพื่อหาทีมตกชั้นเช่นกัน

ทีมแชมป์ในฤดูกาลล่าสุด 2020-2021 ได้แก่ บีจี-บัณฑิตเอเชีย ซึ่งก็เป็นทีมที่คว้าแชมป์ได้มากที่สุดตลอดกาลถึง 4 สมัยอีกด้วย

เมียนมา

Myanmar Women’s League ลีกฟุตบอลหญิงของเมียนมา เริ่มแข่งขันเมื่อปี 2016 โดยมี Myawady FC เป็นทีมที่คว้าแชมป์ได้มากที่สุดจำนวน 2 สมัย

การแข่งขันครั้งล่าสุดที่มีข้อมูลปรากฎคือฤดูกาล 2018-2019 ซึ่งมีทั้งหมด 8 ทีม แข่งขันในระบบลีกแบบพบกันหมดทีมละ 2 เกม โดยเป็น ISPE FC ที่คว้าแชมป์ไปครอง

ขณะที่หลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฎข้อมูลว่า ลีกฟุตบอลหญิงของเมียนมายังมีการจัดแข่งขันต่ออีกหรือไม่

ติดตามข่าวศึกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย “เอเอฟซี วีเมนส์ เอเชียน คัพ 2022” เพิ่มเติมได้ที่ https://www.the-afc.com/en/national/afc_womens_asian_cup.html

GOAL Thailand

แบ่งปัน